Muse Mag
Muse Latitude : “ ไอ เลิฟ คันทรี มิวสิก ”
Muse Mag
25 มิ.ย. 62 1M

ผู้เขียน : Administrator

“ไอ เลิฟ คันทรี มิวสิ

 

            หมวกคาวบอย รองเท้าบู๊ต หนุ่มสาวชนบท เสียงเอื้อน กีตาร์โปร่ง นี่คือสิ่งแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่า “ดนตรีคันทรี” หรือดนตรีลูกทุ่ง อีกหนึ่งแนวเพลงที่เป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันหลายประเทศก็มี “ดนตรีคันทรี” เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมประจำชาติองตนเองในบ้านเราที่ดนตรีลูกทุ่งฝังรากลึกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประเทศเกาหลีใต้กับเพลงทร็อตที่มากด้วยเสน่ห์ ประเทศญี่ปุ่นก็มีเพลงเอ็งกะ ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์

 

            ดนตรีท้องถิ่นกลิ่นอายลูกทุ่งากหลายประเทศ ต่างมการใช้ภาษาที่จริงใจและตรงไปตรงมา บอกเล่าความคิดถึง ความอดทน การสู้ชีวิต ความผิดหวังน้อยใจในโชคชะตา แต่ก็ยังมีความหวังได้ สนุกได้ในเวลาที่สมควรกับงานรื่นเริง ท่ามกลางบริบทลมฟ้าอากาศที่แตกต่างกันไป ซึ่งความไม่ซับซ้อนนี้เองที่ทำให้ผู้คนหลงรักแนวพลงนี้ได้ง่ายๆ กลายเป็นอีกหนึ่งแนวดนตรีที่กระทบใจและมีความเป็นสากล

เราจะชวนคุณมาฟังเพลงเหล่านี้กัน

 

(1) คันทรีฝั่งอเมริกา มาวิน!

            อานิสงส์ความยิ่งใหญ่ของขนาดประเทศและอุตสาหกรรมเพลงอเมริกา ทำให้เพลงคันทรีอเมริกามาวิน ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ขยายอาณาจักรออกไปยังกลุ่มผู้ฟังทั่วโลกที่ในวันนี้ผู้คนรู้จักเพลง Take me home, Country Road เพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของศิลปิน “จอห์น เดนเวอร์” (ปล่อยออกมาใน ค.ศ. 1971) ว่าด้วยความรู้สึกคิดถึงธรรมชาติและบ้านเกิดในเวสต์เวอร์จิเนีย (ชนิดชวนน้ำตาไหล) และนับเป็นตัวอย่างชดเจนที่สะท้อนคาแรกเตอร์ของดนตรีคันทรีท่ามกลางเพลงคันทรีที่มีมิติหลากหลาย เปลี่ยนไปตามยุคสมัยและบริบทของสังคม

 

 

 

            มีหลายหลักฐานที่บอกได้ว่าแนวเพลงคันทรีนี้เกิดขึ้นมาในสหรัฐอเมริกาตอนใต้และทางภูเขาแอพาเชียนที่ได้แก่ รัฐเทนเนสซี เวอร์จิเนีย เวสต์เวอร์จิเนีย ละเคนทักกี โดยบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่ไม่ซับซ้อนอันได้แก่ เครื่องสายอย่างกีตาร์ ไวโอลิน บันโจ แมนโดลิน เครื่องเป่าอย่างฮาร์โมนิกาและเครื่องให้จังหวะง่ายๆ อย่างกลอง เป็นต้น ต่อมาพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1920 โดยมีอีกหนึ่งข้อมูลน่ารู้คือ ในเวลนั้นยังไม่มีคำว่าดนตรีคันทรีเกิดขึ้น จนกระทั่งทศวรรษ 1940 ก่อนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในทศวรรษ 1970

 

            เวลาผ่านไป เราได้รู้ว่านักร้องเพลงคันทรีไม่ได้มีแค่ “จอห์น เดนเวอร์” ยังมีศิลปินเพลงคันทรี (เคยคันทรีและคันทรีเป็นครั้งคราว) ที่เราอาจร้อง “อ๋อ” เมื่อได้ทำคามรู้จักมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “การ์ธ บรูกส์” นักร้องนักแต่งเพลงคันทรีร่วมสมัย มีทั้งผลงานคันทรีป๊อปและคันทรีร็อก หนึ่งในผู้ประสบความสำเร็จในวงการเพลงอเมริกันมากที่สุด หรือแม้แต่ศิลปินวง “ดิอีเกิลส์” กับเพลง “Hotel California” ตัวอย่างแนวเพลงคันทรีร็อกที่ด่งดังตลอดกาล ก่อนจะมีคำถามว่า แล้ว “จอห์นนี่ แคช” ล่ะ ใช่แล้ว เขาคือหนึ่งในนักดนตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 และศิลปินแนวคันทรีโดยหลัก ก่อนมีผลงานหลายแนวเพลงออกมา เช่นเดียวกับ “เอลวิส เพรสลีย์” ราชาร็อกแอนด์โรลที่ผสานแนวเพลงคันทรีในผลงานแนวเพลง็อกอะบิลลี (rockabilly) ที่ได้รับความนิยม

 

        

 

            นอกจากนี้ยังมีชื่อศิลปินที่คุณอาจรู้จัก ได้ยินเสียงและเห็นหน้าค่าตากันบ่อย ได้แก่ “เบลค เชลตัน” ศิลปินแนวคันทรีชื่อดังที่มีบ้านเกิดในแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี กรรมการรายการ The Voice US ตามมาด้วย ราชินีเพลงคันทรี “แคร่ อันเดอร์วูด” และที่ลืมไม่ได้คือ “เทย์เลอร์ สวิฟต์” กับผลงานแจ้งเกิดในอัลบั้มแรก โดยเฉพาะซิงเกิล “Our Song” ที่ขึ้นสู่อันดับหนึ่งบิลบอร์ดชาร์ทของดนตรีคันทรียอดนิยม...และนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความสนุกของดนตรีคันทรีฝั่งอเมริกา

 

 

เพลงลูกทุ่งอเมริกายุค Spotify...

คุณรู้ไหมว่าทุกวันที่ 17 กันยายนของทุกปีเป็นวันเพลงคันทรีสากล (International Country Music Day) และเดือนเดียวกันนี้ใน ค.ศ. 2018 “Spotify” บริการสตรีมเพลงดิจิทัล พอดแคสต์ และวิดีโอ ซึ่งเปิดให้เราเข้าถึงเนื้อหาและเพลงนับล้านจากศิลปินทั่วทุกมุมโลกเยถือโอกาสเล่าสู่กันถึงวงการเพลงคันทรีในมุมสนุกๆ ว่าเวลานี้เพลงคันทรียังคงอยู่ในใจผู้คนอเมริกัน และยังมีเมืองแนชวิลล์ของรัฐเทนเนสซีเป็นเมืองหลวง (มี Grand Ole Opry เวทีคันทรีที่มีประวัติยาวนาน และแม้แต่เทเลอร์ สวิฟต์ ก็เดินทางมาตามฝันในวันที่เธอมีอายุเพียง 14 ปี)

 

 

 

            ในวันนี้ความชื่นชอบเพลงคันทรีได้หลั่งไหลไปทั่วโลก “Spotify” เองพบว่าส่วนแบ่งของการสตรีมเพลงคันทรีทั่วโลก นอกอเมริกาตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เพิ่มขึ้นถึง 21% และนั่นทำให้ศิลปินเพลงคันทรีหลายคนมีฐานแฟนเพลงมากขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ทำให้ไม่ใช่แค่เพลงที่เดินทง เพราะศิลปินเองก็อาจต้องเตรียมตัวเก็บกระเป๋าออกเดินทางด้วย ยกตัวอย่างเช่น เคซีย์ มัสเกรฟส์ (Kacey Musgraves) นักร้องเพลงคันทรี 6 รางวัลแกรมมี่ที่มีฐานแฟนคลับขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร จนทำให้เกิดงาน Spotify Fans First Event ของเธอขึ้น เพื่อชวนแฟนๆ มาร่วมฟังพลง จิบชาที่คฤหาสน์ Space House ในกรุงลอนดอน เช่นเดียวกับวงคันทรี Old Dominion ที่มีแผนเดินทางไปยังยุโรปและสหราชอาณาจักร แถมด้วยแผนการเดินทางไปยังออสเตรเลียของแคร์รี่ อันเดอร์วู ศิลปินหญิงที่โด่งดังที่สุดทั่วโลกบน Spotify

 

 

 

 

(2) เอ็งกะ คันทรีฝั่งญี่ปุ่น

            ทงฝั่งแดนอาทิตย์อุทัยก็มีดนตรีลูกทุ่งกับเขาเหมือนกันที่เรียกว่าดนตรีเอ็งกะ (Enka) และนับเป็นดนตรีที่บอกเล่าเรื่องราวความคิด ทัศนคติ การใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น สื่อสารผ่านการร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พาคุณย้อนกลับสู่ความวินเทจย้อนยุค ชวนให้คนรุ่นก่อนคิดถึงเสียงของฮิบาริ มิโซระ “ราชินีเพลงเอ็งกะ” ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในญี่ปุ่น ในวันนี้เอ็งกะยังคงเป็นแนวเพลงที่ได้รับการพูดถึงในฐานะสมบัติทางวัฒนธรรม แถมยังมีแฟนคลับติดตามอยู่พอตัว ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตคุณอาจกลายมาเป็นแฟนตัวยงเมื่อกด Play เริ่มฟัง

 

                        

                        

 

            ดนตรีเอ็งกะดังเดิมถือกำเนิดขึ้นในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868-1912) มีอีกชื่อเรียกว่า Soshi Enka ก่อนถูกส่งต่อมาในยุคไทโช (ค.ศ. 1912-1926) ที่ในช่วงเวลานี้นักร้องข้างถนนได้เริ่มบรรเลงเพลงเอ็งกะด้วยเครื่องดนตรีอย่างไวโอลิน และเป็นช่วงเวลาที่นักดนตรีเอ็งกะอย่างโทชิโอะ ซากุระอิ (Toshio Sakurai) แจ้งเกิด โดยเขาเองยังทำหน้าที่เป็นโค้ชของนักร้องแนวเอ็งกะที่มีชื่อเสียงอีกหนึ่งคนคือ ฮารุโอะ โอกะ (Haruo Oka) ต่อมาในช่วงเริ่มต้นยุคโชวะ ปลายทศวรรษ 1920 แนวดนตรี Ryūkōka หรือที่เรียกว่า Traditional Pop ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากของยุคนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กีตาร์ถูกนำมาใช้ร่วมกับดนตรีเอ็งกะ ก่อนที่ต่อมาใน.ศ. 1939 ฮารุโอะ โอกะ จะปล่อยเพลง “Kokkyō no Haru” ซึ่แปลความหมายได้ว่า “Spring at the Border” บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกผ่านงานดนตรี และยังนับเป็นแนวดนตรีในศตวรรษที่ 19 ของญี่ปุ่น ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเมือง

 

            หากถามว่าดนตรีเอ็งกะสมัยใหม่เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และเป็นไปในทิศทางไหน เพลง “ Wakare no Ippon-sugi” ซึ่งแปลว่า “Farewell One Cedar” ค.ศ. 1955 โดยโทรุ ฟุนามุระ (Toru Funamura) น่าจะช่วยตอบโจทย์ เพราะได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ว่าเป็นเพลงเอ็งกะที่แท้จริง มีการผสมผสานกลิ่นอายดนตรีแทงโก้แบบตะวันตกที่ถือเป็นจุดลงตัว ช่วยสร้างสีสันและเสน่ห์ให้กับเพลงที่ถูกนำไปโคเวอร์ใหม่หลายต่อหลายครั้งโดยนักร้องนักดนตรีดังที่ได้แก่ ฮิเดโอะ มุราตะ (Hideo Murata) ฮิบาริ มิโซระ (Hibari Misora) ทาคาชิ โอโซกาวะ (Takashi Hosokawa) มิชิยะ มิฮาชิ (Michiya Mihashi) เคโกะ ฟูจิ (Keiko Fuji) ซาบุโระ คิตะจิมะ (Saburo Kitajima) และฮิโรชิ อิสึกิ (Hiroshi Itsuki)

 

 

 

ฮิบาริ มิโซระ (Hibari Misora) “ราชินีเพลงเอ็งกะ” ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในญี่ปุ่น

 

            ช่วงหลังสงครามเป็นช่วงที่ความนิยมใน Rōkyoku หรือ naniwa-bushi ดนตรีแนวเล่าเรื่องซึ่งมักเป็นเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาของญี่ปุ่นพราะเป็นเพลงเศร้าและยาว ทำให้ไม่ตอบความต้องการของคนฟังต่างสมัย ขณะเดียวกันก็ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีของเพลงเอ็งกะที่เหล่านักร้องที่เคยร้องเพลงทั้งสองแนวนี้เปรียบว่า เอ็งกะเป็น Rōkyoku เวอร์ชั่นสั้น ได้รับความนิยมในนักร้องเอง อย่างฮารุโอะ มินามิ (Haruo Minami) และฮิเดโอะ มุราตะ (Hideo Murata) รวมถึงในกลุ่มคนฟังทั่วไป และเมื่อกล่าวถึงมุราตะ คงต้องกล่าวถึงอีกหนึ่งนักร้องที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวเพลงเอ็งกะ อย่างคุโมะเอมง โทชูเคน (Kumoemon Tochuken) ที่มุราตะเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของเขานั่นเอง

 

            มาถึงช่วงต้นทศวรรษ 1960 ยุคที่เอลวิส เพรสลีย์ สร้างความนิยมดนตรีแนวร็อกอะบิลลี ดนตรีแนว Kyu Sakamoto ที่มาจากแนวร็อกอะบิลลีญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน ทว่าสวนทางกับมุมมองของเหล่านักวิจารณ์ที่เวลานั้นพวกเขาเห็นดีเห็นงามกับเพลงเอ็งกะในชื่ “Osho” ที่แต่งโดยโทรุ ฟุนามุระ (Toru Funamura) ขับร้องเพลงโดยฮิเดโอะ มุระตะ (Hideo Murata) ใน ค.ศ. 1961 เพราะมองว่าเป็นดนตรีญี่ปุ่นที่แท้จริง กลายเป็นซิงเกิลที่จำหน่ายได้เป็นหลักล้านในแดนปลาดิบ และเป็นความสำเร็จที่ต้องพูดถึงในธุรกิจเพลงเอ็งกะ

 

ฮิเดโอะ มุระตะ (Hideo Murata) นักร้องเพลงเอ็งกะ ซิงเกิลที่จำหน่ายได้เป็นหลักล้านในแดนปลาดิบ

 

            ในปัจจุบันแม้ว่าแนวดนตรีเอ็งกะเองจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก ท่ามกลางแนวดนตรีสมัยใหม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ดนตรีเจป๊อปโด่งดังในยุค 1990 แต่ก็ยังมีแฟนตัวจริงที่คอยติดตามอย่างเหนียวแน่น ประกอบกับมีผู้ฟังหน้าใหม่ๆ นอกจากนี้ศิลปินยุคใหม่หลายกลุ่มเลือกนำดนตรีเอ็งกะมาสร้างสรรค์งานเพลงที่ได้แก่ คิโยชิ ฮิกาวะ (Kiyoshi Hikawa) และยูโกะ นากาซาวะ (Yuko Nakazawa) สมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มมอร์นิงมุซุเมะ เช่นเดียวกับ Jero นักร้องเพลงเอ็งกะ ลูกครึ่งแอฟริกัน อเมริกัน ญี่ปุ่นที่หลงใหลเสน่ห์ของดนตรีแนวนี้ ทั้งยังถ่ายทอดออกมาได้ไพเราะอย่างหาตัวจับได้ยาก และได้รับคำชื่นชมอย่างมากแม้กระทั่งในกลุ่มผู้ฟังชาวญี่ปุ่นเอง

 

 

Kiyoshi Hikawa ศิลปินยุคใหม่นำดนตรีเอ็งกะมาสร้างสรรค์งานเพลง

 

Jero นักร้องเพลงเอ็งกะ ลูกครึ่งแอฟริกัน อเมริกัน

 

(3) เพลงทร็อต คันทรีเกาหลีใต้ สไตล์ลูกทุ่ง

 

            หากมีโอกาสฟังเพลงของฮงจินยอง (Hong Jin-young) นักร้องเพลงทร็อต (Trot) ที่มีดีกรีความดังระดับหญิงลีแห่งเกาหลีใต้จนจบ จะพบว่ามีบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงท่วงทำนองเพลงไทยสไตล์ลูกทุ่ง จุดเชื่อมที่ทำให้ดนตรีทร็อตยิ่งหน้าสนใจมากขึ้นอีก และหากถามกันตรงๆ ว่าเพลงทร็อตคืออะไร คำตอบสั้นๆ ง่ายๆ ที่จะได้คือ เพลงคันทรีหรือเพลงลูกทุ่งสไตล์เกาหลีที่ได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากดนตรีเอ็งกะของญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามาปกครองดินแดน (ช่วงปี ค.ศ. 1910-1940) บ้างก็กล่าวว่าดนตรีทร็อตเป็นแนวดนตรีที่เกี่ยวโยงกับรูปแบบดั้งเดิมของบทกวีเกาหลีที่มีมาช้านาน สำหรับความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีทร็อตที่ต้องพูดถึงคือ ลูกเอื้อนและเนื้อเพลงที่บอกเล่าความยากลำบาก ซึ่งต่อมาได้ถูกตัดแปลงให้มีเรื่องเล่าที่หลากหลายรวมไปถึงเรื่องราวความรักของคนหนุ่มสาวและชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง

 

 

 

            ยุคต่อมา (ในช่วงปี ค.ศ. 1950-1970) หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและญี่ปุ่นได้ถอนทัพกลับประเทศ เพลงทร็อตก็เริ่มเติบโตในสไตล์ของตัวเองมากขึ้น สิ่งที่เห็นได้ชัดคือกลิ่นอายความเป็นตะวันตกที่ยิ่งชัด เพื่อค่อยๆ ขจัดค่านิยมทางอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ และเพื่อดึงคะแนนความสนใจจากทหารอเมริกันที่ประจำการ เช่นเดียวกับ “เอ็งกะ” แนวเพลงทร็อตมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในแง่มุมโฆษณาชวนเชื่อ หรือ Propaganda สอดคล้องกับบทความที่ตีพิมพ์ใน Chosun Ilbo ใน ค.ศ. 2010 ที่กล่าวว่ารัฐบาลเกาหลีใต้ได้นำแนวเพลงทร็อตมาใช้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านประเทศเกาหลีเหนือ โดยมีเพลงที่แต่งขึ้นและคัดสรรมาราวเกือบ 200 เพลง ทั้งยังขับร้องโดยศิลปินชื่อดัง

 

 

            เป็นธรรมดาที่ว่ามีขึ้นก็ต้องมีลง เช่นเดียวกับความนิยมเพลงทร็อตที่ค่อยๆ คลายลงในช่วงหลัง (ปี ค.ศ. 1980-1990)  ที่ผู้คนหันไปสนใจเพลงเต้นรำ ก่อนเข้าสู่วัฒนธรรมดนตรีเคป๊อปที่เปลี่ยนอุตสหกรรมเพลงของเกาหลีใต้ครั้งใหญ่ไปตลอดกาล แต่สุดท้ายเพลงทร็อตก็ยังไม่ได้หายไปไหน และยังคงปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยตามลำดับ ประกอบกับยุคนั้นเป็นยุคของเทปคาสเซ็ทที่มีส่วนช่วยให้เพลงทร็อตถูกนำไปต่อยอดในหลายทาง (localization of trot music) ร่วมกับหลายแนวดนตรี

 

            สำหรับหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจของการต่อลมหายใจให้กับเพลงทร็อตในยุคสมัยใหม่คือ การฟอร์มทีมวงซูเปอร์จูเนียร์ ที (Super Junior-T) หรือซูเปอร์จูเนียร์ ทรอท (Super Junior-Trot) ใน ค.ศ. 2550 ศิลปินกลุ่มย่อยที่มีสมาชิก 6 คนอย่างเป็นทางการ ลำดับที่ 2 ของซูเปอร์จูเนียร์ จากวิชั่นของค่ายเพลง SM Entertainment ที่ไม่อยากให้เพลงทร็อตของเกาหลีใต้เสื่อมความนิยมลงไปตามกาลเวลา ด้วยการถ่ายทอดเพลงทร็อตที่ผสมผสานกับแนวดนตรีใหม่ ใส่ความเท่บวกความสดใสสนุกสนาน ช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้จักเพลงทร็อตมากกว่าแค่เพลงที่มาจากยุคสมัยดั้งเดิม

 

 

            และนอกจากนักร้องเพลงทร็อตที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว คุณยังสามารถติดตามนักร้องเหล่านี้เพิ่มเติมซึ่งได้แก่ นาฮุนอา (Na Hoon A) จางยุนจอง (Jang Yun-jeong) และปาร์คฮยอนบิน (Park Hyun-bin)

 



ย้อนกลับ