ฐานรากก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม
ฐานรากก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม
ฐานรากก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม
15 มี.ค. 67 8K

ผู้เขียน : Administrator

โครงการส่งเสริมกระบวนทัศน์ใหม่ในประวัติศาสตร์:The Alteration ฐานรากก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม ระยะที่ 1

EXHIBITION
นิทรรศการ

BOARDGAMES
เกมกระดานสโมสร

TALKS
เสวนา

WALKS 15:15:15
เดินมองเมือง

WORKSHOPS
เวิร์กช้อป

KIDSCOVERY ZONE
กิจกรรมสำหรับเด็ก

THE ALTERTION TRAILS
นำชมพิเศษ

*********************************************

EXHIBITION
นิทรรศการ

รากฐานสู่การวัฒนา : จากปิยมหาราชา สู่มหาธีรราชเจ้า
Paving the Way for Civilization:
Preparing the prince to serve the throne

“รากฐานสู่การวัฒนา : จากปิยมหาราชา สู่มหาธีรราชเจ้า” จะขอชวนทุกท่านย้อนไปรับชม 15 พรรษาแรกในฐานะ “เจ้าชาย” ของพระมหากษัตริย์ “รัชกาลที่ 6” พระองค์นี้ ที่ทรงได้รับพระราชภาระสืบต่อสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “รัชกาลที่ 5” ได้ทรงวางรากฐานเอาไว้ ผ่านการ “บ่มเพาะ” เจ้าชายพระองค์น้อยพระองค์หนึ่ง ภายในนิทรรศการมี Kidscovery Zone ก่อนกาลอภิวัฒน์กับสถาปัตยศิวิไลซ์

KIDSCOVERY ZONE
กิจกรรมสำหรับเด็ก

เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ สถาปัตย์ศิวิไลซ์ก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม และสัมผัสประวัติศาสตร์รสนิยมโลกในห้วงกว่า 100 ปีก่อน ด้วยการลงมือทำ พบกับวิทยากรพิเศษ จากครีเอเตอร์สายสถาปัตยกรรม อาทิ HANDIGRAPH, CAPYPER, BLUE BANGKOK ฯลฯ

สถานที่ มิวเซียมสยาม
ห้องนิทรรศการชั่วคราว 1-2
ทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ 10.00-18.00 (ปิดวันจันทร์) ไม่เสียค่าเข้าชม
*สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 16.00 น.

*********************************************

SPECIAL ACTIVITYกิจกรรมพิเศษ

 

 

WORKSHOPS
เวิร์กช้อป

เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ สถาปัตย์ศิวิไลซ์ก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม และสัมผัสประวัติศาสตร์รสนิยมโลกในห้วงกว่า 100 ปีก่อน ด้วยการลงมือทำ จากครีเอเตอร์สายสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์รสนิยม อาทิ

23 มีนาคม 67 : 10.30-12.30
ก่อนกาลอภิวัฒน์กับสถาปัตยกรรมบนกระดาษ – CAPYPER

30 มีนาคม 67 : 10.30-12.30
แกะตึกเก่า : 100 ปีตึกใกล้ตัวเราก่อนกาลอภิวัฒน์สยาม-HANDIGRAPH

6 เมษายน 67 : 10.30-12.30
สโกน แอนด์เฟรนด์ นานาขนมอบฝรั่งที่ชาวสยามต่างชื่นชอบ-SIAM ORIGINS

20 เมษายน 67 : 10.30-12.30
“อักษราภิรมย์” Calligraphy ฟรีแฮนด์-ไทป์ภูธรและอักษรสนาน

27 เมษายน 67 : 14.00-17.00
กรุ่นกลิ่นตัวคุณเมื่อ 100 ปี ก่อน your scent from 100 years ago- Ashram Scent

สถานที่ มิวเซียมสยาม ห้องนิทรรศการชั่วคราว 3
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง bit.ly/thealteration_program

*********************************************

TALKS
เสวนา

ชวนฟังและพาเดินเพื่อสำรวจข้อมูลหมุดหมายสำคัญแห่งโครงข่ายการพลิกโฉมสยามรัตนโกสินทร์สู่เมืองแห่งความ “ศิวิไลซ์” บนประจักษ์พยานทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์รสนิยม

23 มีนาคม 67 : 14.00-16.00
จัตุรัสมหาวชิราวุธ เมื่อสถาปัตยกรรมและพื้นที่เมืองทำงานร่วมกัน
รองศาสตราจารย์ ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

30 มีนาคม 67 : 14.00-16.00
วางบ้าน สร้างเมือง อ่านมรดกจากรัชสมัยพระมงกุฎเกล้าฯ ผ่านกรุฟิล์มหอภาพยนตร์
พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ดูฟิล์มจากกรุหอภาพยนตร์ได้ที่ https://www.museumsiam.org/thealteration_oldfilm

6 เมษายน 67 : 14.00-16.00
สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ งานเอ็กโปหลวงแห่งชาติครั้งใหญ่ เมื่อ 100 ปี ก่อน
ผศ.กัณฐิกา ศรีอุดม วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

20 เมษายน 67 : 14.00-16.00
“อักษราภิรมย์” อักษรไทยสมัยรัขกาลที่ 6 พ.ศ. 2453 – 2468
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

27 เมษายน 67 : 10.00-12.00
ปกิณกะประวัติศาสตร์ผ่านรสนิยมผู้คนร่วมรัชสมัย
รองศาสตราจารย์ ดร. พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานที่ มิวเซียมสยาม อาคารอเนกประสงค์ / ห้องคลังความรู้
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง bit.ly/thealteration_program

*********************************************

WALKS 15:15:15
เดินมองเมือง
 
พาเดินเพื่อสำรวจข้อมูลหมุดหมายสำคัญแห่งโครงข่ายการพลิกโฉมสยามรัตนโกสินทร์สู่เมืองแห่งความ “ศิวิไลซ์” บนประจักษ์พยานทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์รสนิยม 
โดย ภูวดล ภู่ศิริ และปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ
สถาปนิกและนักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
 
23 มีนาคม 67 : 16.00-18.00
มหาวชิราวุธสแควร์ มองเมืองใหม่ ในย่านเก่า
พาชมย่านเมืองเก่า ผ่านผังเมืองอุดมคติที่ไม่ได้สร้าง “มหาวชิราวุธสแควร์” การบรรจบกันของระบบโครงข่ายเมืองน้ำและเมืองบก เดินถนน ส่องคลอง ข้ามสะพาน รับรู้พื้นที่สาธารณะที่มีฉากหลังเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6 อย่างอาคารมิวเซียมสยาม และสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง เดินเลาะถนนจักรเพชร ผ่านย่านการค้า สู่อาคารการไฟฟ้าวัดเลียบ ตัวแทนของอาคารสาธารณูปโภคสมัยใหม่ของสยาม
 
30 มีนาคม 67 : 16.00-18.00
วางบ้าน สร้างเมือง เมืองศิวิไลซ์ ไฟสว่าง ทางสะดวก
ร่วมสำรวจอาคารสาธารณูปโภค สาธารณูปการ งานสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ทั้งตั้งตระหง่านและแฝงตัวอย่างแนบเนียนในเขตเมืองเก่า อย่างโรงประปาแม้นศรี ริมถนนบำรุง ระบบประปาแห่งแรกของพระนคร, ตึกแดง อาคารเก็บพัสดุของการรถไฟ สุดล้ำยุค และสถานีรถไฟกรุงเทพ หมุดหมายสำคัญแห่งโครงข่ายการขนส่งทางรางของสยาม มาร่วมสัมผัสประจักษ์พยานการพลิกโฉมกรุงรัตนโกสินทร์สู่เมืองแห่งความ “ศิวิไลซ์” ไปพร้อมๆ กัน  
 
6 เมษายน 67 : 16.00-18.00
สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ และงานวางผังในสมัยพระมงกุฎเกล้า
มองสวนลุมฯ ในมุมเมือง 100 ปีก่อน สำรวจสถานที่สร้าง “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” เอ็กโปหลวงช่วงต้นปี 2468 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติบนพื้นที่สวนลุมพินี งานใหญ่เมื่อ 100 ปีที่ไม่ได้สร้าง ก่อนจะผันหน้าที่สู่สวนสาธารณะกลางใจกรุงเทพฯ และเยี่ยมชมหลักฐานทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ในพื้นที่รายล้อมที่ยังคงปรากฎหน้าที่แห่งความเป็นเมือง
 
20 เมษายน 67 : 16.00-18.00
“อักษราภิรมย์” อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2453 – 2468
หากตัวหนังสือคือหนึ่งในเครื่องฉายบรรยากาศแห่งยุคสมัย เมื่อตัวอักษรเป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม อาคารนั้นจึงแสดงเรื่องราวและร่องรอยของกาลเวลาในยามที่อาคารนั้นถือกำเนิด ชวนทุกท่านเดินลัดเลาะค้นหาอักษรไทยบนงานสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ซ่อนตัวอยู่ในเกาะรัตนโกสินทร์ อาทิ ศาลาแดง แห่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, อุทยานสราญรมย์, สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, สุขุมาลอนามัย, วิวิธภูษาคาร 
 
27 เมษายน 67 : 16.00-18.00
เดินมองประวัติศาสตร์ผ่านรส – นิยม ผู้คนร่วมรัชสมัย
สำรวจย่านอย่างออกรส เพื่อฉายบรรยากาศรสนิยมร่วมรัชสมัย ทั้งแหล่งที่ฮิปสเตอร์รุ่นใหญ่เมื่อ 100 ปีก่อนใช้ชีวิต ทั้งร้านรวง ย่านการค้า สรรพสิ่ง เพื่อให้ยังได้กลิ่นเนื้อเมืองเก่าอย่างมีอรรถรส
 
สถานที่ พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง
รวมตัวก่อนออกเดินที่อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม
16.00 – 18.00 ไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง bit.ly/thealteration_program
 
สถานที่อยู่ระหว่างการประสานงาน และอาจเปลี่ยนแปลงสถานที่นัดหมาย 
โดยจะแจ้งทางอีเมลให้ผู้กิจกรรมที่ลงทะเบียนทราบอย่างใกล้ชิด
 
***************************************
 
BOARD GAMES
เกมกระดานสโมสร
 
บอร์ดเกมเพื่อการทำความรู้จักเรื่องราวของสังคม พลวัตเมื่อ 100 ปีก่อน
พบกับบอร์ดเกมร่วมรัชสมัยทั้งในไทยและต่างประเทศ อาทิ ดุสิตธานี-ท้องถิ่นวิวัฒน์ และ "ดุสิตธานี – รัฐเนรมิต, สถาปัตย์ศิวิไลซ์ใน 100 กว่าปี, กาลานุกรมพระมงกุฎเกล้า, แยกธาตุเกมในสังกัดกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์, สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ
 
14.00-16.00
พาเล่นโดย บุรินทร์ สิงห์โตอาจ 
ชวนพินิจต้นเค้าแนวดุสิตธานี โดย พงษ์ นีติวัฒนพงษ์ 
ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
16.15-18.00
เล่น เรื่อง เล่า ประวัติศาสตร์โลกเมื่อ 100 ปีก่อนจากบอร์ดเกม
โดย Our History: เรื่อง เล่า เรา โลก และ Wizards of Learning
 
23, 30 มีนาคม 2567 และ 6, 20, 27 เมษายน 2567
สถานที่ มิวเซียมสยาม ห้องนิทรรศการชั่วคราว 3
14.00-16.00 / 16.15-18.00 ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง https://bit.ly/alteration_program
 
เกมกระดานที่ข้าพเจ้าเตรียมไว้ให้ท่าน หมุนเวียนไปตามแต่ละสัปดาห์ มีดังนี้ 
 
บอร์ดเกม "ดุสิตธานี-ท้องถิ่นวิวัฒน์" และ "ดุสิตธานี – รัฐเนรมิต 
โดย มูลนิธิสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ
สื่อการเรียนรู้ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการฝึกหัดพลเมืองให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับการเมืองการปกครองสมัยใหม่ ในรูปแบบของบอร์ดเกม “ดุสิตธานี-ท้องถิ่นวิวัฒน์” และ “ดุสิตธานี-รัฐเนรมิต” ซึ่งจะทำให้ประชาชนและเยาวชน สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนาน เข้าใจเหตุผลอย่างถ่องแท้ โดยไม่ต้องท่องจำ 
“ดุสิตธานี” เมืองจำลองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการจัดการปกครองท้องถิ่น และระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนวิสัยทัศน์วัฒนธรรมพลเมืองไทยยุคใหม่ผู้เป็นอารยะตามแนวพระราชดำริในรัชกาลที่ 6 
 
เกม กาลานุกรมพระมงกุฎเกล้า
เรียนรู้ทำความเข้าใจ เหตุการณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2423-2468 พระราชกรณียกิจ และการพัฒนาประเทศทั้งในบริบทสยามและโลกสากล เหตุการณ์ใดเกิดก่อนและเหตุการณ์ใดเกิดหลัง มาร่วมเล่นฟังเรื่องเล่าจากเหตุการณ์ เมื่อ 100 ปีก่อนร่วมกัน
 
เกม สถาปัตย์ศิวิไลซ์ใน 100 กว่าปี 
เกมสำหรับคนรักสถาปัตยกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้และความภาคภูมิใจในสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในรัชกาลที่ 5-7 ซึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งความอภิวัฒน์บ้านเมืองให้ศิวิไลซ์ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มั่นคงทางการเมือง จึงอยากชวนทุกคนที่สนใจตึกเก่าช่วงพีเรียดนี้มาเล่นเกมเพื่อทำความรู้จักตึกเก่ายุคสสยามศิวิไลซ์ใน 100 กว่าปีก่อน ไปพร้อมกับบริบทที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
 
เกม แยกธาตุ ปฏิบัติการวิเคราะห์แร่
มิวเซียมสยามในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของศาลาแยกธาตุ สังกัดกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำทรัพยากรในประเทศไทยมาผลิตเป็นสินค้าสำหรับส่งออก รวมทั้งเพื่อสนองความต้องการใช้สินค้าภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้า อันเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญมั่งคั่งอย่างมั่นคง 
มาเรียนรู้เรื่องธาตุกันที่ศาลาแยกธาตุ ลองวิเคราะห์ได้ไหมว่า ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ทำมาจากธาตุอะไรบ้าง 
 
เกม สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ นานาชาแนล เอกซฮิบิเซนแห่งสยาม
“สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” งานใหญ่เมื่อ 100 ปีที่ไม่ได้สร้าง
มาร่วมกันย้อนเป็นผู้ร่วมจัดนิทรรศการ เพื่อแสดงของสินค้า ศิลปหัตถกรรมของเด่นจากแต่ละมณฑลในงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อสร้างความพึงใจแก่ผู้เข้าชมให้ได้มากที่สุด ดังคำกล่าวว่าจะเป็น
“งานมหะกรรมที่ระคนปนด้วยความร่าเริงบรรเทิงใจของประชาชน ดังที่แผนงานระบุไว้“
 
เกม กุ๊กช๊อป ตำรับอาหารเหนือกาลเวลา
กุ๊กช๊อป ตำรับอาหารฝรั่งสไตล์จีน 
วัฒนธรรมร้านอาหารไฮบริด จีน ฝรั่ง บนแผ่นดินสยาม ที่นิยมสืบเนื่องกันมาจนปัจจุบัน 
คำว่า “กุ๊กช๊อป” (สะกดตามต้นฉบับ)   โดยปรากฏครั้งแรกในพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2458 เรื่อง “โคลนติดล้อ” ในบทที่ 4 หมายถึง การกินอาหารนอกบ้าน หรือร้านอาหารข้างนอก 
รับบทบาททายาทร้านอาหารกุ๊กช๊อป แข่งขันกันสร้างสรรค์เมนูอร่อย ย้อนรอยตำรับอาหารเหนือกาลเวลา แล้วมาดูกันว่า เมนูอาหารที่ข้ามวัฒนธรรม ผสานการปรุงเป็นที่เอกลักษณ์นั้นเป็นอย่างไร มีเมนูไหนที่ยึดครองใจผู้คนให้สืบทอดตำรับการรับประทานมาได้นานเป็น 100 กว่าปี
 
เกม สี ศรี สวัสดิรักษา
สี ที่เป็นศรี (ศิริ = ดี) 
ชวนมารู้จักคติการใส่ผ้าสีประจำวันที่มีที่มาจาก สวัสดิรักษา บทประพันธ์ที่สุนทรภู่ใช้ถวายการสอนสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2 โดยกล่าวถึงสีของเสื้อผ้าที่จะทรงในโอกาสออกไปรบทัพจับศึกสืบมากลายเป็นสีเครื่องแต่งกายประจำวันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่นิยมจนเป็นความเชื่อการแต่งกายสีมงคลประจำวัน ให้บังเกิด เดช ศรี มนตรี และหลีกเลี่ยงกาลกิณี พร้อมทำความรู้จักรสนิยมสีการแต่งกายในแต่ละยุคสมัย
 
***************************************

 

THE ALTERATION TRAILS
นำชมพิเศษ
 

10.00-11.30 น.
วชิราวุธานุสรณ์ทรรศนา พระบรมราชะประทรรศนีย์ สถานธีรนิทรรศน์
และ ดุสิตธานี : เมืองจำลองที่นำเมืองสยามไปสู่ความเป็นอารยะ
โดย วิทยากรและบุคลากร จากมูลนิธิฯ

14.30-16.00 น.
วชิราวุธานุสรณ์ทรรศนา พระบรมราชะประทรรศนีย์ สถานธีรนิทรรศน์
และ ดุสิตธานี : เมืองจำลองที่นำเมืองสยามไปสู่ความเป็นอารยะ
โดย วิทยากรและบุคลากรจากมูลนิธิฯ

10.30-12.00 น.
100 ปีกับการสร้างความเป็นชาติและบริบทโลก ในสงครามโลกครั้งที่ 1
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธารถ ศรีโคตร รองหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

13.00-14.30 น.
100 ปีกับการสร้างความเป็นชาติและบริบทโลก ในสงครามโลกครั้งที่ 1
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธารถ ศรีโคตร รองหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมายเหตุ :
ที่ตั้ง : หอวชิราวุธานุสรณ์ ตั้งอยู่ภายในหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร
- การเดินทางโดยสาธารณะ : รถประจำทางสาย 3 , 32 , 4-37(9) , 505, ปอ.516 (AC)
- สามารถจอดรถได้ในภายในพื้นที่หอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.

ข้อแนะนำในการชมนิทรรศการ :
- กรุณางดเสียงในขณะชมนิทรรศการ
- สามารถบันทึกภาพและวีดีโอได้ / งดบันทึกภาพแบบเซลฟี่และงดใช้แฟลช
- ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปในห้องจัดแสดง
- งดการสัมผัสวัตถุและสิ่งของจัดแสดงทุกชนิด

  
23, 30 มีนาคม 2567 และ 6, 20, 27 เมษายน 2567
สถานที่ หอวชิราวุธานุสรณ์ ถนนสามเสน
10.00-16.00 ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง bit.ly/thealteration_program
 
*********************************
 
 

สะสมตราประทับรับของที่ระลึก
1 ตราประทับ = 1 คะแนน

3 คะแนน - สติ๊กเกอร์ TheAlteration 1 แผ่น (มีให้เลือกสะสม 2 แบบ)
6 คะแนน - สมุดบันทึก ดุสิตธานี
7 คะแนน - หนังสือ ติดเกาะกับตึกเก่า หรือ 100 ปีตึกเราฯ หรือ โมเดลกระดาษสถาปัตยกรรม

พิเศษ
ท่านที่มีตราประทับมากที่สุด 20 ท่านแรก จะได้ไปร่วม
NOCTURNAL TOUR : สยามเมื่อ 100 ปีก่อน
(ทัวร์ยามค่ำคืน วันที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 18.00-21.00 โดยรถบัสสองชั้นชมเมืองกรุงเทพฯ)
 

หมายเหตุ
สามารถรับของที่ระลึกได้ที่ มิวเซียมสยาม และหอวชิราวุธานุสรณ์

เงื่อนไขการแลกของที่ระลึก
1. เมื่อท่านมาแลกรางวัลเจ้าหน้าที่จะเจาะตราประทับเพื่อแสดงว่าท่านได้ใช้ตราประทับรับของที่ระลึกแล้ว

2. ของที่ระลึกสามารถแลกได้ถึงวันที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 18.00 น. เท่านั้น

3. ท่านที่ใช้ตราประทับรับของที่ระลึกแล้ว สามารถนำแผ่นพับมาแสดงตนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม NOCTURNAL TOUR โดยให้ท่านลงทะเบียนเพื่อแสดงตราประทับที่ท่านสะสมไว้ โดยจะจัดลำดับและประกาศรายชื่อผู้ร่วมทริปในวันที่ 21 เมษายน 2567 เวลา 18.00 น.

4. ทั้งนี้ การตัดสินของผู้จัดถือเป็นที่สิ้นสุดทุกกรณี เงื่อนไขเป็นไปตามที่ผู้จัดกำหนด เมื่อเข้าท่านร่วมกิจกรรม ถือว่าผู้ร่วมกิจกรรมได้อ่านและเข้าใจข้อความแล้ว

***************************

 
กติกา : สำหรับ NOCTURNAL TOUR
1. เพียงโพสต์ภาพตราประทับที่ท่านสะสม พร้อมข้อความอีเมลของท่าน และ ติด #TheAlterationNOCTURNALTOUR (ตั้งค่าสาธารณะ)
ทั้งนี้ในส่วนภาพตราประทับ ขอรบกวนให้เช็นชื่อของท่านกำกับในภาพเพื่อเป็นหลักฐานก่อนลงโพสต์ดังกล่าว
2. สำหรับท่านที่มีตราประทับมากที่สุด และ ลงทะเบียนใต้โพสต์ได้เร็วที่สุด 20 ท่านแรก จะได้ลุ้นร่วม Nocturnal tour : สยามเมื่อ 100 ปีก่อน
3. ร่วมกิจกรรมโพสต์ ตั้งแต่วันนี้ - 20 เมษายน 2567 เวลา 20.00 น. (คลิกที่นี่)
4. ขอให้ผู้ร่วมกิจกรรมมั่นใจว่าท่านสามารถเข้าร่วมตามวันและเวลาดังกล่าวได้ หากท่านได้รับเลือกร่วมทริป
5. 1 ท่านเท่ากับ 1 สิทธิ์ ประกาศผู้ร่วมทริป วันที่ 21 เมษายน 2567 เวลา 12.00 น.
6. การตัดสินของผู้จัดถือเป็นที่สิ้นสุดทุกกรณี เงื่อนไขเป็นไปตามที่ผู้จัดกำหนด เมื่อเข้าท่านร่วมกิจกรรม ถือว่าผู้ร่วมกิจกรรมได้อ่านและเข้าใจข้อความแล้ว
.
กิจกรรม NOCTURNAL TOUR (ทัวร์ยามค่ำคืน วันที่ 27 เมษายน 2567)
เวลา 17.30-21.00 โดยรถบัสสองชั้นชมเมืองกรุงเทพฯ)
.
และ พิเศษ ‼️ สำหรับผู้ที่ได้มีการแลกรับของที่ระลึกจากการประทับตรา ที่มิวเซียมสยามและหอวชิราวุธานุสรณ์ ไปแล้วนั้น (ที่มีการเจาะตราประทับ) ท่านสามารถร่วมกิจกรรม ลุ้นไป NOCTURNAL TOUR กับมิวเซียมสยามได้ โดยทำตามกติกาข้างต้น
.
หมายเหตุ สะสมตราประทับรับของที่ระลึก (ในกรณีที่ท่านไม่ติด 20 ท่านสำหรับกิจกรรม NOCTURNAL TOUR ก็ยังสามารถร่วมสนุกแลกรับของที่ระลึกได้) ตามรายละเอียดนี้ 
.
1 ตราประทับ = 1 คะแนน
3 คะแนน - สติ๊กเกอร์ TheAlteration 1 แผ่น (มีให้เลือกสะสม 2 แบบ)
6 คะแนน - สมุดบันทึก ดุสิตธานี
7 คะแนน - หนังสือ ติดเกาะกับตึกเก่า หรือ 100 ปีตึกเราฯ หรือ โมเดลกระดาษสถาปัตยกรรม
.
หมายเหตุเพิ่มเติม
- เมื่อท่านมาแลกของที่ระลึก เจ้าหน้าที่จะขอทำการเจาะตราประทับ เพื่อแสดงว่าท่านได้ใช้ตราประทับรับของที่ระลึกดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
- ของที่ระลึกสามารถแลกได้ถึงวันที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 18.00 น. เท่านั้น
- ทั้งนี้ การตัดสินของผู้จัดถือเป็นที่สิ้นสุดทุกกรณี
 
ข้อมูลเพิ่มเติม 0819274808
thealteration100@gmail.com
แกลเลอรี่


ย้อนกลับ