ทุกครั้งที่เราไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชน แหล่งอารยธรรม วัด โบราณสถาน สวนสัตว์ สวนพฤกศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ อาจได้พบเจอกับสิ่งที่เราไม่เคยเห็นและไม่เคยรู้มาก่อน แน่นอนเรามักมีคำถามเกิดขึ้นในใจ ว่าสิ่งเรานั้นคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งเราก็จะได้พบกับตัวช่วยคลายความสงสัย นั่นก็คือ “ป้าย” พร้อมคำอธิบายอยู่เสมอๆ และป้ายนั้นยังเป็นตัวช่วยในการให้ข้อมูลต่างๆทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์เช่น ป้ายบอกทาง ป้ายเตือน ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายแผนที่ ป้ายโฆษณา ป้ายคำอธิบายให้ข้อมูล ป้ายคู่มือการใช้งาน(instruction)
และในพิพิธภัณฑ์ก็เช่นกัน ป้ายนั้นจำเป็นอย่างมากในการใช้บอกเล่าเรื่องราว รายละเอียด และที่มาของวัตถุนั้นๆ ทั้งพิพิธภัณฑ์และหอจัดแสดงศิลปะที่เก็บวัตถุหรืองานศิลปะโบราณที่มีสิ่งจัดแสดงโชว์มากมาย จะมีป้าย Label เล็กๆอธิบายกำกับวัตถุนั้นอยู่เสมอ เราลองมาหาคำตอบกันว่า ป้าย คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง ขั้นตอนการออกแบบ สร้างสรรค์ และสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่านั้นหรือไม่
ป้ายสื่อความหมาย หรือ Interpretive Signage ถูกนิยามว่า เป็นกระบวนการสื่อสารที่ถูกออกแบบเพื่อสื่อความหมาย
และมีหน้าที่ส่งข้อความกับผู้รับสาร โดยสามารถให้ข้อมูลความรู้ เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งเปลี่ยนพฤติกรรมและกระตุ้นอารมณ์ของผู้อ่าน โดยป้ายสื่อความหมายยังสามารถออกแบบได้อย่างสร้างสรรค์และทำจากวัสดุที่หลากหลายตามสภาพแวดล้อมอีกด้วย
ป้ายเพื่อสื่อความหมายตามหลักการของ Tilden
1.สามารถดึงดูดความสนใจ
2.กระตุ้นให้เกิดความสงสัย
3.ข้อความความเกี่ยวข้องกับยุคสมัย
4.เผยแก่นสาระผ่านมุมมองที่แตกต่าง
ข้อดีและข้อเสียของป้ายสื่อความหมาย
ข้อดี ของการลงทุนติดตั้งป้ายนั้นก็คือใช้ต้นทุนน้อยและสามารถกระจายข้อมูลให้ผู้ชมได้มากกว่า สื่อสารได้ตลอดเวลาแก่ผู้พบเห็นในระยะยาว
ข้อเสีย นั้นก็คือ สามารถสื่อสารได้ทางเดียว บดบังทัศนียภาพ และเมื่อระยะเวลาผ่านไปข้อมูลอาจไม่ได้มีการอัพเดทให้ทันสมัย และมีการเสื่อมชำรุดเสียหายจากสภาพอากาศ ผุพังจากการใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากการพบปะ ฟังบรรยาย พูดคุยแลกเปลี่ยนกับภัณฑารักษ์หรือเจ้าหน้าที่นำชม ซึ่งสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยี scan QR code เข้ามาช่วย ทำให้สามารถปรับข้อมูลให้ทันสมัย และเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ
หลักการวางแผนการจัดทำป้ายสื่อความหมาย ควรพิจารณาดังนี้
1.มีสิ่งใดที่ผู้ชม สามารถเห็น ได้กลิ่น หรือได้ยินในบริเวณนี้ แล้วต้องการคำอธิบายกับสิ่งนี้
2.มีสิ่งใดที่น่าสนใจ หรือเรื่องราว ที่ผู้ชมอาจจะพลาดไป ถ้าหากไม่มีป้ายสื่อความหมายนี้
3.ผู้ชมจะได้รับประสบการณ์มากกว่าเดิมหรือไม่ ถ้าหากมีป้ายสื่อความหมาย
4.ความคุ้มค่าของป้ายกับจำนวนผู้พบเห็น
5.มีอันตรายหรือผลกระทบอื่นๆหรือไม่ หากผู้ชม ไม่มีป้ายเตือน
6.มีอันตรายหรือผลกระทบอื่นๆหรือไม่ หากผู้ชม มีการหยุดอ่านป้ายสื่อความหมายนี้
7.ป้ายมีผลกระทบต่อภูมิทัศน์หรือสภาพแวดล้อมหรือไม่
8.ใครเป็นเจ้าของป้ายนี้ และใครคือผู้บำรุงรักษา
วางแผนวัตถุประสงค์ของป้ายสื่อความหมาย
1.ด้านการศึกษา คุณต้องการให้ผู้ชมรับรู้อะไร
2.ด้านพฤติกรรม คุณต้องการให้ผู้ชม ทำอะไร
3.ด้านอารม คุณต้องการให้ผู้ชม รู้สึกอย่างไร
การวางแผนโดยใช้คุณสมบัติผู้ชม หรือทางการตลาด
1.ช่วงอายุของผู้ชม
2.ระดับการศึกษา ความรู้พื้นฐานที่มี
3.ภาษาของผู้ชม
การออกแบบ ควรพิจารณาดังนี้
1.สีและรูปภาพแบบไหนจะดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ชมสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
2.หัวเรื่อง หรือประโยคนำใดที่จะดึงดูดผู้ชม
3.ใช้ตัวอักษร ขนาด สีพื้นหลัง ที่อ่านได้ง่ายสบายตา
4.ข้อความสั้นกระชับ ข้อมูลไม่อัดแน่นเกินไป
5.ความสูงและมุมที่อำนวยต่อการเคลื่อนไหวศรีษะ ที่อ่านอย่างสะดวก
6.คำศัพท์ที่เข้าใจได้โดยง่าย หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค อ่านได้ทุกวัย (ศัพท์ที่เด็กอายุ12-15ปีอ่านได้)
7.มีรูปภาพเรื่องราวประกอบ
8.ผู้พิการสามารถเข้าถึง และอ่านข้อความได้ โดยไม่มีอุปสรรคต่อความสูงหรือสิ่งกีดขวาง
การออกแบบ Layout ของป้าย
1.มีขนาดที่เหมาะสม
2.มีพื้นที่ว่างรอบข้อความ และตัวอักษรไม่อัดแน่น เบียดจนเกินไป
3.หลีกเลี่ยงการใช้กราฟฟิคกับข้อความเบี่ยงเบนความสนใจในหลายๆจุด
4.หลีกเลี่ยงจากการรบกวนจากสิ่งอื่น
ป้าย 2 ภาษา
ควรทำป้ายเป็น 2ภาษา เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน แต่หากต้องการทำภาษาทางเลือก ควรออกแบบป้ายที่มีสัญลักษณ์หรือข้อความพิเศษแล้วใช้งานคู่กับแผ่นพับ โบชัวที่มีคำอธิบายภาษาทางเลือกนั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.slideshare.net/crisedren8884/museum-interpretive-signage