ถ้าพูดถึงการท่องเที่ยวนั้น อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ คงจะไม่พ้น กล้องถ่ายรูป
และวันนี้เราจะมาพูดถึงการ ถ่ายภาพ ในพิพิธภัณฑ์กันครับ
โดยส่วนใหญ่ พิพิธภัณฑ์ทั่วไปจะอนุญาตให้ถ่ายภาพนิ่งได้ แต่...ห้ามใช้แฟลช ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้เข้าชมรายอื่น แม้กระทั่งรบกวนสัตว์จัดแสดงต่างๆไม่ว่าจะเป็นในสวนสัตว์และอะควาเรี่ยม รวมถึง แสงแฟลชนั้นยังเป็นปัจจัย ที่ทำให้วัตถุจัดแสดงเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น สีของภาพวาดจิตรกรรม ภาพฟิมล์ และสีของกระดาษ จะเสื่อมสภาพ สีซีดจาง เหลืองผิดเพี้ยนไปจากเดิม หากได้รับแสงในปริมาณมากเกินต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง และในพิพิธภัณฑ์บางแห่งนั้น ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพหรือบันทึกวีดิโอ ภายในห้องจัดแสดงได้ ฉะนั้น..ก่อนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ พวกเราควรศึกษากฏระเบียบของพิพิธภัณฑ์ให้ดีซะก่อนล่ะ
พูดถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพของเรานั้นก็คือ....กล้องถ่ายรูปดิจิตอล และเลนส์ ส่วนเลนส์นั้นมีระยะที่แตกต่างกันออกไปใช้ตามสถานการณ์ ซึ่งเราต้องเข้าใจก่อนว่าเราจะถ่ายแบบอะไร และต้องการภาพแบบไหน
หากคุณต้องการภาพมุมกว้างเก็บรายละเอียดพื้นที่รอบๆ บรรยากาศและโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในอาคาร ควรเลือกเลนส์ไวด์ หรือเลนส์มีระยะ 14mm-35mm แต่หากต้องการถ่ายเจาะจงเฉพาะตัววัตถุเป็นชิ้นๆไป ควรเลือกเลนส์หรือปรับให้ระยะเลนส์ไปอยู่ที่ 50mm-70mm แต่ในพิพิธภัIณฑ์บางแห่งนั้น มีแสงในห้องค่อนข้างน้อย เนื่องจากต้องควบคุมปริมาณแสงที่ส่งผลกระทบกับวัตถุจัดแสดง หรือการจัดไฟต่างๆ ทำให้ภาพที่ออกมานั้นค่อนข้างมืด เราสามารถแก้ด้วยการเปิดรูรับแสงที่เลนส์ หรือที่เรียกว่าค่า F และ และการชดเชยแสงด้วย ISO ในตัวกล้องอีกด้วย
การปรับค่า F เพื่อเปิดรูรับแสง ในการใช้ถ่ายวัตถุ เดี่ยว นั้นจะช่วยให้วตถุเกิดความโดดเด่น อีกทั้งยังสามารถเบลอฉากหลังได้ ด้วยการปรับค่า F ไปที่ ประมาณ 2.8 – 4 จะช่วยเปิดภาพให้สว่างและช่วยดึงมิติวัตถุให้โดดเด่นขึ้นอย่างเหนได้ชัด
ส่วน ISO นั้นภายในตัวอาคาร ควรปรับอยู่ที่ ISO 800-2500 ค่าที่มากขึ้นจะช่วยชดเชยความสว่างในภาพแทนการใช้แฟลชได้นั่นเอง .....ถ้าพร้อมแล้วก็อย่าลืมถ่ายรูปแล้วมาอวดกันด้วยล่ะครับ