มิวเซียมสยาม เปิดตัวนิทรรศการ “ชาย หญิง สิ่งสมมุติ”

ข่าวสารองค์กร

17 พ.ค. 61
3K
มิวเซียมสยาม เปิดตัวนิทรรศการ “ชาย หญิง สิ่งสมมุติ : Gender Illumination” นิทรรศการเพื่อความหลากหลายทางเพศ ที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุดครั้งแรกของประเทศ ประกอบไปด้วยเนื้อหาประเด็นความหลากหลายทางเพศ อาทิ ค่านิยมทางสังคม ประวัติศาสตร์ มุมมองความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ และเปิดกว้างในทัศนคติด้านเพศกับตนเอง บุคคลรอบข้าง ตลอดจนคนในครอบครัว ผ่านโซนจัดแสดงต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ 715 ตารางเมตร อาทิ โซน “ฉากชีวิต” ที่รวบรวมวัตถุจัดแสดงกว่า 100 ชิ้น โซนปลดล็อกมายาคติทางเพศ โซนห้องน้ำไร้เพศกับความเท่าเทียม โซนประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โซนแบ็กสเตจสัมผัสประสบการณ์การแปลงโฉมเป็นเพศอื่นๆ ฯลฯ
นิทรรศการ “ชาย หญิง สิ่งสมมุติ : Gender Illumination” มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางเพศ อาทิ ค่านิยมทางสังคม การมีอยู่ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ความเข้าใจและมุมมองความหลากหลายทางเพศในสังคมปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ เข้าใจ ยอมรับตัวตน เปิดกว้างทัศนคติต่ออัตลักษณ์ทางเพศของทั้งตนเอง บุคคลรอบข้าง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และบุคคลในครอบครัว ตลอดจนช่วยให้สังคมเข้าใจในความแตกต่างและยอมรับในความหลากหลายทางเพศมากยิ่งขึ้น โดยภายในนิทรรศการประกอบด้วยโซนไฮไลท์ที่น่าสนใจ ดังนี้
- เขาวงกตแห่งเพศ : โซนกระตุกต่อมคิดมายาคติทางเพศ ในรูปแบบของทางวงกต ที่มีคำต่างๆ ซึ่งถูกใช้ในสังคมไทยเพื่อกรอบความคิดเรื่องเพศ ว่าคำใดสะท้อนความเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง อาทิ เพศแม่ รักนวลสงวนตัว กุลเกย์ ชายชาตรี
- มนุษย์ขนมปังขิง : ทำความเข้าใจว่า “เพศ” ผ่านโมเดลมนุษย์ขนมขิง ที่นำเสนอความเชื่อมโยงระหว่าง สำนึกทางเพศ การแสดงออก เพศกำเนิด และความรู้สึกทางเพศ ที่สามารถเปลี่ยนแปลง ลื่นไหล และไม่ต้องเป็นไปตามแบบแผนของสังคม พร้อมการนำเสนอผ่านเทคโนโลยีบอดี้ สแกนเนอร์ สะท้อนเรื่องของเพศสภาพ ที่เป็นเพียงปัจจัย
- ห้องน้ำไร้เพศ : นำเสนอการแบ่งกล่องแห่งเพศซึ่งจำกัดแค่ความเป็นชายและหญิงในที่สาธารณะจากการใช้ห้องน้ำ พร้อมกระตุ้นความคิด จะดีกว่าหรือไม่ หากมีห้องน้ำไร้เพศ ในที่
- บันทึก-เพศ-สยาม : นำเสนอประวัติศาสตร์การเริ่มขึ้นของความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบัน ผ่านแผนผังไทม์ไลน์เหตุการณ์ที่สำคัญ พร้อมเรียนรู้เรื่องราวของสื่อต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมแชท โซเชียลมีเดีย
- ฉากชีวิต : จัดแสดงที่รวบรวมวัตถุจัดแสดงกว่า 100 ชิ้น ซึ่งมีเรื่องราวเบื้องหลังของการค้นพบตัวตน ภาพถ่าย ของสะสม สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสิ่งของที่เป็นแรงบันดาลใจ และสะท้อนการใช้ชีวิตการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ อาทิ ใบปริญญาที่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ จดหมายจากบุพการีต่อลูกอันเป็นที่รัก พวงหรีดจากภรรยาที่ครอบครัวไม่เคยรู้มาก่อน ตลับแป้งพับที่ปิดตาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังนำเสนอภาพยนตร์สั้นเพื่อความเข้าใจผู้มีความหลากหลายทางเพศ ภาพศิลปะจากเยาวชนที่มีต่อประเด็นความหลากหลายทางเพศ ตลอดจนความเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกิดขึ้นใน
- ชั้นลอย : ผลงานจากการประกวดวาดภาพ ภายใต้หัวข้อ “ความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศในความเข้าใจของฉัน” จากเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 10-18 ปี ทั่วประเทศ โดย กลุ่มโรงน้ำชา หรือ TEA group (Togetherness for Equality and Action) ก่อตั้งเมื่อปี 2013 เป็นการรวมตัวของนักกิจกรรมที่ทำงานเพื่อสนับสนุนประเด็นความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ ด้วยอยากเห็นการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยรวมเอาประเด็นเรื่องเพศ (gender and sexuality) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน เพราะเชื่อเรื่องความหลากหลายว่าต้องนับรวมทุกกลุ่มคน และเปิดพื้นที่ให้ทุกอัตลักษณ์ได้รับการ
- ตบแต่งตัวตน : สัมผัสประสบการณ์หลังม่านละครชีวิตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในรูปแบบของแบ็กสเตจโรงละคร ที่ให้ทุกคนสามารถทดลองแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าไร้เพศ วิก เมคอัพ ฯลฯ อิสระตามที่ใจ
- คาเฟ่โรงละคร : โซนรวบรวมความคิดเห็นเพื่อสำรวจการขับเคลื่อนด้านสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยปัจจุบัน ผ่านการโหวต Yes/No ในประเด็นต่างๆ อาทิ ห้องน้ำไร้เพศควรมีในประเทศหรือไม่ คำนำหน้าชื่อควรเอกด้วยตัวเองหรือไม่ เป็นต้น พร้อมกำแพงที่ให้คุณได้ทลายกำแพงเพศสภาพผ่านงานศิลปะตุ๊กตากระดาษ
ความแตกต่างของนิทรรศการดังกล่าว อยู่ที่โซนจัดแสดงที่รวบรวมวัตถุจัดแสดงกว่า 100 ชิ้น ซึ่งมีเรื่องราวเบื้องหลังของการค้นพบตัวตน ภาพถ่าย ของสะสม สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสิ่งของที่เป็นแรงบันดาลใจ และสะท้อนการใช้ชีวิตการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้นิทรรศการสามารถสะท้อนเรื่องราว มุมมอง ทัศนคติที่หลากหลาย และเกิดขึ้นจริงในสังคม จากกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
นิทรรศการ “ชาย หญิง สิ่งสมมุติ : Gender Illumination” เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 กันยายน 2561 วันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม ท่าเตียน กรุงเทพฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 หรือ www.museumsiam.org