สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
วัดฝั่งคลอง เลขที่ 84 ถนนสุวรรณศร เกาะหวาย ปากพลี นครนายก 26130
จันทร์ - อาทิตย์
09:00 - 17:00
ไม่เสียค่าเข้าชม
หลายครั้งที่เรามีโอกาสแวะไปเที่ยวที่จังหวัดนครนายก แต่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าที่จังหวัดนครนายกก็มีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่ด้วย โดยเฉพาะความเป็นรากเหง้าของชีวนครนายก ซึ่งพื้นเพเดิม ๆ คือ คนไทยพวน หากในครั้งนี้เรามีโอกาสที่จะมาจังหวัดนครนายกอีกครั้ง เราจึงตั้งใจที่จะไปชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง ซึ่งตั้งอยู่ในวัดฝั่งคลอง ริมถนนทางหลวงเลยนั่นเอง เรื่องราวของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เกิดขึ้นเพราะปัจจุบันวิถีชีวิตพื้นบ้านแบบไทยพวนค่อยๆ สูญหายและถูกกลืนไปกับสังคมไทยสมัยใหม่ หากแต่ยังมีกลุ่มคนที่พยายามอนุรักษ์และสืบสาวประวัติความเป็นมา และประเพณีวัฒนธรรมของคนพวนในพื้นที่ของจังหวัดนครนายกเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ พระครูวิริยานุโยค (สมบัติ บุญประเสริฐ) เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลอง ในปี พ.ศ. 2541 หลังจากที่ท่านมีโอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนาศึกษาดูงาน ตามโครงการของกรมศิลปากร เรื่องการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในส่วนของพระสังฆาธิการ และตระเวนศึกษาดูงานและพร้อมกับได้รับคำแนะนำจากกรมศิลปากร รวมทั้งได้รวบรวมของเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์มาเก็บไว้จำนวนหนึ่ง ท่านจึงตัดสินใจก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดฝั่งคลอง (ไทยพวน) ขึ้นเพื่อจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไทยพวน โดยปรับพื้นที่บริเวณชั้นล่างของหอฉันเป็นสถานที่แสดงนั่นเอง เมื่อเข้าด้านในพิพิธภัณฑ์ เราจะพบกับห้องโถงยาว ด้านหนึ่งคือ “เฮือนไทยพวน” ที่จำลองบ้านและเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือนของชาวไทยพวน มีส่วนนิทรรศการและข้าวของต่างๆ ที่มีอายุกว่า 200 ปี มาจัดแสดงในหัวเรื่อง “อยู่ดี กินดี มีสุข สวยงาม” นำเสนอถึงวิถีชีวิตของไทยพวนตั้งแต่การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย (อยู่ดี) การทำมาหากิน อาหาร (กินดี) การละเล่นนางด้ง นางสุ่ม การร้องรำทำเพลง (มีสุข), เครื่องแต่งกาย ผ้าทอ ซิ่น (สวยงาม) ผ่านข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อาทิ สมุดข่อยโบราณ เครื่องทองเหลือง เชี่ยนหมาก ขันพาน เครื่องจักสานประเภทกระบุง ตะกร้า ถ้วยชามกระเบื้อง กบไสไม้ ตะเกียง โม่ กระต่ายขูดมะพร้าว หีบใส่ผ้า เตารีดใส่ถ่าน โอ่ง ไหดินเผา หม้อน้ำดินเผา กี่ทอผ้า เครื่องมือทำนา เครื่องมือจับปลา แคน ปั้นชา หม้อกาแฟ ของจัดแสดงส่วนใหญ่มีป้ายชื่อเรียกทั้งภาษาไทยและพวน อักษรพวน วิธีใช้ และประโยชน์การใช้งาน หากไม่ได้มาชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เราคงไม่มีความรู้ในเรื่องของคนไทยพวนเลย ไม่มีทางได้รู้ว่ายังมีกลุ่มคนที่มีเชื้อสายนี้อยู่ในประเทศไทย และยังคงต้องการอนุรักษ์สิ่งดี ๆ ที่ตัวเองมีให้ลูกหลานได้รู้จัก รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ ได้เข้ามาเยี่ยมชมและซึมซับสิ่งดี ๆ เหล่านี้ด้วย
พระครูวิริยานุโยค (สมบัติ บุญประเสริฐ) เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลอง