สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
แกลเลอรี
พุธ - อาทิตย์
09:00 - 16:00
ชาวไทย 10 บาท,ชาวต่างชาติ 30 บาท
เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง ในความดูแลของกรมศิลปากร เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบสารสนเทศการทำหุ่นจำลอง และฉากชีวิตต่างๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราวต่างๆในจังหวัดร้อยเอ็ด เดิมทีนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมอีสานโดยเฉพาะผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองต่อมาเมื่อกรมศิลปากรมีนโยบายจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง จึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติสาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถกรรม ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ 1 จัดแสดงเรื่องภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา แนะนำจังหวัดร้อยเอ็ด,ประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัด และศิลปินแห่งชาติ ชั้นที่ 2 จัดแสดงเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะพื้นบ้าน อาทิ ชิ้นส่วนเครื่องประดับ,กระปุกรูปช้าง,แผ่นทองและใบไม้ทองคำ,พระพิมพ์พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก ชั้นที่ 3 จัดแสดงเรื่องวิถีชีวิตประเพณีและงานศิลปหัตถกรรมผ้าไหม ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด วัตถุจัดแสดงอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ชิ้นส่วนเครื่องประดับรูปพญานาคห้าเศียรทองคำ,แผ่นทองและใบไม้ทองคำ,ฝาปิดภาชนะในพิธีกรรมฝังศพโบราณ,ภาชนะบรรจุกระดูก,กระดิ่งสำริด,เศียรนาคทำด้วยสำริด เปียกทอง,พระพุทธรูปปางประทานธรรม,พระพิมพ์พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก, พระพิมพ์ดินเผาแม่พิมพ์พระสำริด,กระปุกรูปช้าง รู้หรือไม่? ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานของไทยที่อดีตเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนยุคก่อนประวัติสาสตร์ โดยปรากฏชื่อในตำนานอุรังคธาตุว่า ‘สาเกตนคร’ หรือ ‘เมืองร้อยเอ็ดประตู’ อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองขนาดที่มีเมืองขึ้นมากถึงสิบเอ็ดเมือง แต่จำนวนสิบเอ็ดในสมัยโบราณนั้นประกอบด้วยเลขสิบและเลขหนึ่ง (101) ชื่อเมืองจึงถูกเรียกว่าเมืองร้อยเอ็ดจนทุกวันนี้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ดตั้งอยู่ในอาคาร 3 ชั้น ในการจัดแสดงมีการจัดแบ่งเรื่องราวเป็นห้องต่าง ๆ ดังนี้ ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรณี จัดแสดงแหล่งดิน หิน แร่ต่างๆ และการจัดทำน้ำบาดาล หุ่นจำลองและซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ ซึ่งขุดพบที่ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ชั้นดินและการแบ่งยุคสมัยทางธรณีวิทยาบริเวณดินแถบอีสานตอนล่าง ห้องแนะนำเมืองร้อยเอ็ด จัดแสดงแผนที่จังหวัดร้อยเอ็ดและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ภายในจังหวัด ห้องบุคคลสำคัญของจังหวัด และศิลปินแห่งชาติ ชั้นที่ 2 จัดแสดงเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย ห้องก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงภาชนะดินเผา ที่ใช้บรรจุกระดูกในพิธีฝังศพของคนสมัยประวัติศาสตร์ มีอายุราว 1,500 - 2,500 ปี ห้องวัฒนธรรมทวารวดี จัดแสดงแม่พิมพ์ต่างๆ และอิฐสมัยทวาราวดี ซึ่งขุดค้นพบที่บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ห้องวัฒนธรรมลพบุรี จัดแสดงเกี่ยวกับข้าวของ เครื่องมือเครื่องใช้ในวัฒนธรรมของลพบุรี ซึ่งพบมากในจังหวัดร้อยเอ็ด เขตอำเภอปทุมรัตน์ อำเภอธวัชบุรี อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอเกษตรวิสัย หุ่นจำลองแหล่งสถาปัตยกรรมขอมที่สำคัญในจังหวัดร้อยเอ็ด คือ กู่กาสิงห์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมขอมสมัยบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 และยังมีห้องจัดแสดงเครื่องทองสมัยลพบุรี ห้องสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ จัดแสดงเรื่องราวของชาวจีนโบราณในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยนำเสนอผ่านหุ่นจำลองชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยแต่งงานกับคนพื้นเมือง และทำมาค้าขาย สร้างบ้านแบบตึกดิน ศิลปะพื้นบ้าน คาราวานด่านเกวียน ชั้นที่ 3 จัดแสดงเรื่องวิถีชีวิต ประเพณีและงานศิลปหัตถกรรมผ้าไหม ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงผ้าและวิถีชีวิต การจัดแสดงดนตรีพื้นเมือง วิถีชีวิต การจัดแสดงหุ่นจำลองประเพณีบุญผะเหวดซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด การจัดแสดงบ้านอีสานจำลอง แสดงลักษณะการใช้พื้นที่ใช้สอยภายในเรือนอีสานแบบดั้งเดิม และห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษ การจัดแสดงนิทรรศการจัดแสดงภายในตู้กระจก และบนแท่นวางวัตถุสิ่งของ อีกทั้งยังมีส่วนประกอบเพิ่มเติมในนิทรรศการ ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียในรูปของคอมพิวเตอร์บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ และฉากจำลองวิถีชีวิต เช่น ตึกดิน เป็นต้น
1.ชิ้นส่วนเครื่องประดับ 2.แผ่นทองและใบไม้ทองคำ 3.ภาชนะบรรจุกระดูก 4. กระดิ่งสำริด
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ร้อยเอ็ด
นายทศพร ศรีสมานตำแหน่ง ภัณฑารักษ์