สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
แกลเลอรี
ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท สนามชัย เมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000
พุธ - อาทิตย์
08:00 - 20:00
1. นักเรียนระดับประถม จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 22,749 คน 2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 29,499 คน 3. นักเรียนระดับอุดมศึกษา จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 4,750 คน 4. นักวิชาการและนักวิจัย จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 8,338 คน 5. บุคคลทั่วไป จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 11,081 คน 6. นักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 126 คน 7. ภิกษุ-สามเณร จำนวนผู้เข้าชมโดยประมาณในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาคือ 262 คน
ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยว 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท เยาวชนและนักเรียน นักศึกษา เข้าชมฟรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เมื่อปี พ.ศ.2538 เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อสนองแนวพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ได้พระราชทานให้กรมศิลปากรเพิ่มสาขาวิชาอื่นๆ ในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อกรมศิลปากรได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เสร็จสมบูรณ์ จึงได้จัดให้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2546 และถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการดำเนินงานเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ตำบลสนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ริมถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ภายในศูนย์ราชการ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตรงข้ามศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ภายในเนื้อที่กว้างขวางประมาณ 77 ไร่นี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี, หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีคนที่ 21, หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี, หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ และวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี โดยอาคารส่วนใหญ่นั้นสร้างเรียงกันไปเว้นพื้นที่ด้านหน้าเป็นสนามหญ้ายาวไปตามถนนดังที่แสดงในแผนผังศูนย์ราชการ กรมศิลปากร
อาคารจัดแสดงแบ่งออกเป็น 2 ชั้น การจัดแสดงนิทรรศการถาวรมีการนำสื่อการจัดแสดงประเภทต่างๆ เช่น ระบบโสตทัศนูปกรณ์และหุ่นจำลอง มาผสมผสานกับการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินไปพร้อมกัน การจัดแสดงประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ ชั้นล่าง 1 ห้องโถง 2 ห้องภูมิหลังเมืองสุพรรณ 3 ห้องเมืองยุทธหัตถี 4 ห้องคนสุพรรณ ชั้นบน 5 ห้องบุคคลสำคัญ 6 ห้องศาสนศิลป์สุพรรณ 7 ห้องเครื่องปั้นดินเผาบ้านบางปูน 8 ห้องวรรณกรรมเมืองสุพรรณ 9 ห้องเพลงพื้นบ้านเมืองสุพรรณ 10 ห้องสุพรรณบุรีวันนี้ 11 ห้องค้นคว้า
1.ซากฟอสซิล 9.เครื่องมือเกษตร 2.เครื่องปั้นดินเผา 10.เครื่องมือประมงน้ำจืด 3.โบราณวัตถุ 11.เครื่องจักสาน 4.ศิลปะวัตถุ 12.เครื่องแต่งกาย 5.ศาสนวัตถุ พระพุทธรูปและพระเครื่อง 13.เครื่องมือทอผ้า 6.เครื่องโลหะ 14.เครื่องประดับ 7.เครื่องไม้ 15.เงินตรา 8.เครื่องเงินเครื่องทอง 16.เอกสารโบราณ 9.หุ่นจำลอง 18.อาวุธ
พระพุทธรูป พระเครื่องและพระพิมพ์ต่างๆในห้องศาสนศิลป์สุพรรณ
มีการทำทะเบียนทั้งหมด
1.มีแผ่นพับ และหนังสือนำชมของพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ 2.มีแผ่นพับที่รวมศูนย์ราชการกรมศิลปากรทั้งหมดประชาสัมพันธ์ไปด้วยกัน 3.ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชนและรายการโทรทัศน์
1.ตลาด 100 ปี สามชุก พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์ 2.หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย 3.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย 4.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง 5.เจดีย์ยุทธหัตถี 6.บึงฉวาก 7.วัดป่าเลไลย์
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมชื่อหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ นางสาว สรัญญา สุริยรัตนกรตำแหน่ง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี