สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
แกลเลอรี
73 ถ.เจ้าขุนเณร บ้านเหนือ เมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรี 71000
จันทร์ - อาทิตย์
09:00 - 17:00
1. นักท่องเที่ยวต่างประเทศ 2. นักท่องเที่ยวในประเทศ 3. บุคคลทั่วไป 4. นักวิชาการ นักวิจัย 5. นักเรียนระดับอุดมศึกษา 6. นักเรียนระดับมัธยมศึกษา 7. นักเรียนระดับประถม
เด็กอายุระหว่าง 8-14 ปี 30 บาท นักท่องเที่ยว 80 บาท
Mr. Rod Beattie ได้รวบรวมวัตถุต่างๆในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และศึกษาแหล่งข้อมูลที่มาจากประสบการณ์ หนังสือ และจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในสมัยสงครามมาเป็นเวลากว่า10 ปี โดยให้ความสนใจกับเรื่องราวการสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่าเป็นพิเศษ Mr. Rod จึงเกิดแนวความคิดที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย – พม่าขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เรื่องราวของการสร้างรถไฟสายไทย – พม่า มีคำอธิบายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และมีภาพถ่าย วีดีโอและModel ประกอบเรื่องราวต่างๆด้วย การจัดแสดง แบ่งออกเป็น 9 ส่วนดังนี้ 1. ระเบียบภาพ “ บทนำ” จัดแสดงเรื่องราวเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นขยายอำนาจเข้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. ระเบียบภาพ 2 “การออกแบบและการก่อสร้าง” จัดแสดงการออกแบบทางรถไฟ การสะสมกำลังคน มีModelรถไฟและการฉายสไลด์ให้ชม 3. ระเบียบภาพ 3 “สภาพภูมิศาสตร์ของทางรถไฟ “จัดแสดงเส้นทางจำลอง 3 มิติเป็นระบบไฟฟ้าและประมวลภาพแสดงส่วนต่างๆของรถไฟ 4. ระเบียบภาพ 4 “สภาพชีวิตในค่ายเชลยศึก” จัดแสดงภาพและสไลด์ที่แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในค่ายเชลยศึก มีสิ่งของที่เก็บสะสมจากค่ายสงคราม 5. ระเบียบภาพ 5 “ ด้านการแพทย์ “ จัดแสดงด้านการแพทย์และโรคร้ายต่างๆ การประดิษฐ์สิ่งของนำมาใช้ในการรักษา ที่เกิดขึ้นในช่วงสงคราม 6. ระเบียงภาพ 6 “ ค่าของสงคราม” แสดงสรุปยอดผู้เสียชีวิต 7. ระเบียงภาพ 7 “ การปฏิบัติการของทางรถไฟ” จัดแสดงทางรถไฟที่เสร็จแล้วและภาพการโจมตีตอบโต้ของพันธมิตร 8. ระเบียงภาพ 8 “ การทิ้งระเบิดและการทำลายทางรถไฟ” จัดแสดงระเบิดชนิดใหม่ล่าสุด “ สมาร์ท บอมบ์” ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาพแสดงการทิ้งระเบิด 9. ระเบียงภาพ 9 “ภายหลังสงครามยุติ” จัดแสดงภาพการคืนกลับสู่มาตุภูมิของพวกเชลยศึกและกรรมกร ภาพค้นหาหลุมฝังศพ ภาพการก่อสร้างสุสานสงคราม และจุดสิ้นสุดของเส้นทาง
จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ระหว่างการสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังเช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือแพทย์ สารคดี ภาพถ่าย อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในสงคราม ฯลฯ
ไม่มีการคัดเลือกชิ้นที่เป็นMasterpiece
1. มีแผ่นพับ 2. หนังสือนำชม 3. มีการประชาสัมพันธ์ จากรายการโทรทัศน์ทั้งในและต่างประเทศ และลงตีพิมพ์ในหนังสือคู่มือการท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวต่างชาติ
1. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี 2. พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก 3. พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด
ชื่อผู้ดูแลงานพิพิธภัณฑ์ : Mr. Rod Beattie ตำแหน่ง : เจ้าของ/ผู้บริหาร