สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
แกลเลอรี
ถนนพระพันวษา ท่าพี่เลี้ยง เมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000
พุธ - อาทิตย์
09:00 - 16:00
1. นักเรียนระดับประถม 2. นักเรียนระดับมัธยมศึกษา 3. นักเรียนระดับอุดมศึกษา 4. บุคคลทั่วไป 5. นักท่องเที่ยวในประเทศ 6. นักวิชาการนักวิจัย 7. นักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เคียวด้ามทองคำ หนึ่งในอุปกรณ์ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงใช้ในการทำปุ๋ยหมัก หว่าข้าว และเกี่ยวข้าวในท้องที่จังหวัดสุพรรณบุรีนอกจากบัวรดน้ำ ขัน พลั่ว รถไถ เครื่องนวดข้าว พันธุ์ข้าว พระรามทาน รวงข้าวมงคล 9 รวง แรกที่ทรงเกี่ยว (ข้าวเจ้าพันธุ์ ก.ย.23) ‘เคียวด้ามทองคำ’ ความยาว 42 เซนติเมตรเล่มนี้ ตัวด้ามหุ้มด้วยทองคำ น้ำหนักกว่า 8 บาท แกะสลักลวดลายพญานาค และเทพธิดาฟ้อนรำ สลักข้อความว่า ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ’สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานเกี่ยวข้าว ณ บึงไผ่แขก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2529 เวลา 14.00 น. ส่วนที่ใบมีดแกะสลักลายพฤกษานานาพันธุ์ เคียวด้ามทองคำ ถือเป็นเคียวประวิติศาสตร์ที่ข้าราชการในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมสมทบทุนจัดทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เพื่อทรงใช้เกี่ยวข้าวปฐมฤกษ์ในแปลงสาธิต ณ บึงไผ่แขก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้พระราชทานเคียวด้ามทองคำนี้ มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทยตราบจนปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาด 16.20 1 x 25.20 เมตร มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางข้าวของชาวนา ซึ่งนับว่าเป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
ภาพที่ 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย ภาพที่ 2 ป้ายพิพิธภัณฑ์ด้านหน้า ภาพที่ 3 สวนหย่อมบริเวณอาคารจัดแสดง ภาพที่ 4 อาคารจัดแสดงด้านข้าง และป้ายแนะนำพิพิธภัณฑ์ ภาพที่ 5 ทางเข้า ภาพที่ 6 เคาท์เตอร์เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์
ภาพที่ 1 ฉากนิทรรศการ ภาพที่ 2 ปฏิทินการทำนาของไทย ภาพที่ 3 หุ่นจำลองบ้านและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาไทย ภาพที่ 4 เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวนาไทย ภาพที่ 5 ภาพจำลองการชาวนาไทยรับเสด็จ ภาพที่ 6 ป้ายแสดงภาพวีถีชีวิตชาวนาไทย
ไม่มีการคัดเลือกชิ้นที่เป็นMasterpiece
มี การทำทะเบียนวัตถุสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ คิดเป็น 85 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุทั้งหมด
1.มีแผ่นพับ และหนังสือนำชม 2.มีรายการทางโทรทัศน์มาถ่ายทำเพื่อประชาสัมพันธ์
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี 2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร