การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
ใครที่มามิวเซียมสยาม หากสังเกตดีๆ จะพบว่าหัวเสาของตึกหลังนี้มีรูปแบบที่แตกต่างจากอาคารร่วมยุคสมัยเดียวกัน แน่นอนว่า อาคารสถาปัตยกรรมตะวันตกย่อมตกแต่งด้วยหัวเสามาตรฐาน 5 รูปแบบ (Five orders) ที่เคยมีตั้งแต่สมัยกรีกโรมัน ได้แก่ ทัสกัน (Tuscan) ดอริก (Doric) ไอโอนิก (Ionic) คอรินเทียน (Corinthien) และหัวเสาแบบผสม (Composite) ที่ผสานกันระหว่างรูปทรงขมวดม้วนก้นหอยของหัวเสาแบบ
ไอโอนิกกับใบอะแคนทัสของหัวเสาแบบคอรินเทียน
ทว่า หัวเสาที่ใช้ประดับตกแต่งเป็นส่วนใหญ่ทั้งในและนอกตึกมิวเซียมสยามเป็นรูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยเรอเนสซองส์ (Renaissance) มีผู้นำเทรนด์โดยสกามอซซี่ วินเซนโซ (Scamozzi Vincenso 1552-1616) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผู้สำรวจซากปรักหักพังของสถาปัตยกรรมกรีกโรมันและค้นพบว่ายังมีหัวเสาอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือ หัวเสาที่มีการออกแบบให้ขมวดม้วนก้นหอยของหัวเสาแบบไอโอนิกบิดออกในแนวทแยงมุม (diagonal volute ionic capital) ซึ่งสร้างมุมมองให้หัวเสาดูมีมิติมากยิ่งขึ้น เขาชื่นชอบหัวเสารูปแบบนี้มากจึงวาดภาพคัดลอก และเขียนแบบถอดรหัสวิธีการสร้างหัวเสาเพื่อเผยแพร่ในหนังสือ รวมถึงนำหัวเสารูปแบบนี้มาใช้ตกแต่งในผลงานออกแบบอาคารของเขาด้วย
หัวเสารูปแบบนี้ส่งอิทธิพลให้กับความนิยมรูปแบบหัวเสาของอาคารในสมัยต่อมา และได้รับการตอบรับอย่างมากทั้งในอังกฤษ ยุโรป และอเมริกา ทำให้นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม (Architecture historians) ขนานนามให้หัวเสารูปแบบนี้ว่า “หัวเสาแบบสกามอซซี่” (Scamozzi’s orders) เพื่อเป็นเกียรติให้กับสกามอซซี่ นั่นเอง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.classicist.org/articles/classical-comments-the-scamozzi-ionic-capital/