เคยสงสัยกันไหมว่าไดโนเสาร์ชื่อยาวๆ ออกเสียงยากๆนี่เขาตั้งกันอย่างไรมีที่มาที่ไปอย่างไร?
ในปีค.ศ.1824 เซอร์ริชาร์ด โอเวน (อังกฤษ:Sir Richard Owen) นักบรรพชีวินวิทยา(วิชาว่าด้วยการศึกษาพืช-สัตว์ในธรณีกาล)รุ่นแรกชาวอังกฤษ ได้ตั้งชื่อฟอสซิลของสัตว์ยักษ์ที่เขาได้ค้นพบว่า Dinosaurs ซึ่งมาจากคำสมาสภาษากรีก Deinos แปลว่าน่าสะพรึงกลัว และ Sauros แปลว่ากิ้งก่า รวมเป็นคำแปลความออกมาได้ว่า "กิ้งก่ายักษ์ที่น่าสะพรึงกลัว"
ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการตั้งชื่อแบบสัตวิทยา(วิชาว่าด้วยการศึกษาสัตว์ต่างๆ) ซึ่งส่งผลต่อการตั้งชื่อไดโนเสาร์ตลอดมาโดยการใช้ลักษณะเด่น พื้นที่ค้นพบ ชื่อบุคคลที่ค้นพบหรือให้เกียรติ หรือแม้แต่พฤติกรรมโดยการอาศัยหลักฐานทางบรรพชีวิตวิทยา ซึ่งเราจะยกตัวอย่างมาให้เห็นดังต่อไปนี้
ตามลักษณะเด่น
ตามพื้นที่ค้นพบ
ตามชื่อบุคคล
ตามพฤติกรรม
มาดูตัวอย่างไดโนเสาร์ชื่อไทยกันบ้าง ซึ่งทางอีสานของไทยนั้นเองก็เป็นแผ่นดินเก่า มีการค้นพบในไดโนเสาร์อยู่บ่อยครั้ง หลายครั้งก็เป็นไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ Siamotyrannus isanensis สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ไดโนเสาร์ชื่อไทยปนกรีกก็เป็นหนึ่งในนั้น
ไดโนเสาร์ Theropods (เดินสองเท้า) หนึ่งในวงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด กลุ่มเดียวกับไทแรนโนซอรัสไดโนเสาร์ซุปเปอร์สตาร์ในวัฒนธรรมป็อป มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ130ล้านปีก่อน ถูกค้นพบที่อำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น
ที่มาของชื่อ : Siamotyrannus isanensis
อ้างอิง
http://www.enchantedlearning.com
http://thaipaleosara.wixsite.com
รูปภาพจาก
http://paleobiology.si.edu/paleoArt/Historical/Highlights/knight.html
http://emilywilloughby.com
http://www.nhm.ac.uk/discover/dino-directory/marshosaurus.html
http://d2sbwudtr860bs.cloudfront.net/MMIAPW3014.jpg
http://www.tunturisusi.com/dinosaurukset/tyrannosaurit.htm