แกลเลอรี
เลขที่ 436 ถนนมหาไชย สำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
จันทร์ - ศุกร์
09:00 - 16:00
ไม่เก็บค่าเข้าชม,จดหมายขออนุญาต/โทรศัพท์แจ้งการนัดหมายก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันทำการ
พระราชหัตถเลขา ทุกสังคมย่อมมีคนดีและคนไม่ดีเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม เราจึงต้องมีกฎเกณฑ์ในการควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง นอกจากมีการใช้ตัวบทกฎหมายแล้วยังต้องมีบทลงโทษต่างๆ เพื่อรองรับกฎหมายเหล่านั้นด้วย สำหรับวัตถุโบราณ เกี่ยวกับการลงโทษในสังคมไทย ที่เป็นของหาชมได้ยากยิ่งคือพระราชหัตถเลขาพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องหาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณในงานราชทัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณจากเรือจำต่างๆ ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ประวัติและวิวัฒนาการงานราชทัณฑ์ การลงโทษและการประหารชีวิตของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จัดแสดงเครื่องพันธนาการ เครื่องลงทัณฑ์สมัยโบราณ ประวัติความเป็นมาของเรือนพิเศษกรุงเทพมหานคร (เดิม) จัดแสดงเอกสารวัตถุโบราณ เช่น วิธรการทรมาน สมัยโบราณ,ภายถ่ายเรือนจำ,การประหารชีวิต,ภาพเพชฌฆาต อาวุธปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตนักโทษหุ่นจำลองแสดงการประหารชีวิตหลักประหารที่เคยใช้งานจริง จำลองการประหารชีวิตสมัยโบราณ ทั้งตัดคอและยิงเป้า เครื่องแบบผู้คุมและนักโทษสมัยก่อน ฯลฯ อาคารที่ 1 เป็นอาคารแรกสำหรับการเริ่มต้นชมพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ห้องแรกจัดแสดงประวัติและความเป็นมาของเรือจำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมถึงจัดแสดงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมนักโทษ เช่น โซ่ตรวน และเครื่องมือพันธนาการต่างๆ ชั้นบนแบ่งเป็น 3 ห้องแสดงโดยจัดจำลองให้เห็นถึงลักษณะการประหารชีวิตสมัยโบราณ ได้แก่ การแสดงหุ่นประหารชีวิตด้วยดาบ ประกอบด้วยศาลเพียงตา ขันน้ำมนต์ และอาหารมื้อสุดท้ายของผู้ต้องขังเป็นต้น ต่อมาเป็นการแสดงวิวัฒนาการจากการประหารชีวิตด้วยปืน หรือที่เรียกว่ายิงเป้าห้องท้ายสุดเป็นการประหารชีวิตในปัจจุบันคือการประหารชีวิตโดยการฉีดสารพิษเข้าร่างกาย โดยในส่วนนี้จัดจำลองเตียงประหารและขั้นตอนต่างๆ อาคาร 2 ชั้นล่าง จัดแสดงภาพและคำบรรยายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเรือจำพิเศษกรุงเทพฯในสมัยต่างๆ และแสดงวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ที่คงเก็บรักษาไว้ภายในหลังการรื้อถอนอาคารของเรือจำพิเศษกรุงเทพนมหานคร (เดิม) ชั้นบนจัดแสดงห้องนิทรรศการพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชจักรีวงศ์ อาคารแดน 9 เป็นอาคารเรือนนอนของผู้ต้องขังเรือจำพิเศษกรุงเทพฯ (เดิม) ซึ่งคงสภาพเดิมไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะของอาคารห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมผู้ต้องขัง และสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ต้องขัง ลักษณะการก่อสร้างตัวอาคารเป็นการนำเอาแบบอย่างของสถาปัตยกรรมตะวันตกมาใช้ เช่น มีระบบการเปิดปิดห้องนอนผู้ต้องขังระบบรวม โดยยกคันยกเพียง 1 ครั้ง จะสามารถ เปิดปิดห้องนอนได้ถึง 9 ห้อง อาคารพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.2540
แผ่นพับแนะนำพิพิธภัณฑ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
นางโสภา ไวณุภูติ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปหน่วยงาน สถาบันพัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์